ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาววรรวิภา โพธิ์งาม รายวิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย คะ

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกสัปดาห์ที่ 3

วันจันทร์ ที่  26 มกราคม 2558


เรื่องที่ 1  เป็นการเรียนใน PWP เรื่อง หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
จากภาพสามารถอธิบายตามความเข้าทางศิลปะของตนเองได้ดังนี้...


              ภาพนี้ถ้ามองแบบไร้จินตนาการก็จะเห็นเพียงทุ่งกว้างที่มีกระท่อมอยู่สองหลัง มีแกะสามตัวและต้นไม้ ตอไม้ ก้อนหิน แต่ถ้าลองมองดีๆ จะเห็นเป็นโครงภาพคนแก่ที่มีหนวดสีขาว ที่มีสีหน้าที่ดูสงสัย ก็แล้วแต่คนจะมองว่า คนในภาพมีความรู้สึกอย่างไร?


                 ถ้าคนไม่มีจิตวิญญาณในการมองภาพนี้จะไม่เห็นอะไรเลย จะเห็นเป็นเพียงชั้นที่เต็มไปด้วยน้ำอัดลม แต่สังเกตดีๆจะเห็นเป็นคนที่พลางตัวอยู่ตรงกลางของภาพๆนี้ เห็นได้ว่าศิลปะก็สามารถอยู่บนตัวของเราได้


               ภาพๆนี้ดูสับสน ถ้ามองทางฝั่งซ้าย จะเห็นว่ามีแผ่นไม้อยู่ 4 แผ่น แต่ถ้ามองทางฝั่งขวา จะเห็นว่ามีแผ่นไม้อยู๋ 3 แผ่น ศิลปะสามารถทำให้เราสับสน ตาลายและงงได้ แต่ก็สามารถทำให้เราได้ฝึกคิดได้เช่นเดียวกัน ในภาพๆนี้ความจริงคือมีแผ่นไม้อยู่แค่ 2 แผ่น เมื่อเราลองแรเงา จะมีแผ่นไม้ที่อยู่บนสุดและล่างสุดเท่านั้น ลองทำดูได้นะคะ


                  ช้างตัวนี้นับขาแทบจะไม่ถูกเลย เพราะมองดูทำเอาคิดแล้วคิดอีกกับภาพๆนี้ ช้างตัวนี้มันมีกี่ขากันแน่ ถ้าคิดตามความเป็นจริง ช้างปกติจะต้องมีสี่ขา แต่ภาพนี้ไม่ปกติ ศิลปะสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ตามที่เราอยากจะให้มันเป็นตามความคิดของเรา ที่จริงช้างตัวนี้มีขาจริงๆเพียง 2 ขาเท่านั้น!! ลองดูกันดีๆนะคะ


                มองให้เป็นศิลปะ ในภาพแรกถ้าเรามองสีดำ จะเห็นเป็นใบหน้าที่หันเข้าหากันแต่ถ้าเรามองสีขาวจะเห็นเป็นรูปถ้วย ในภาพที่สอง ถ้ามองสีดำครึ่งบนจะเห็นเป็นนก แต่ถ้าสีขาวท่อนล่างจะเป็นปลา ทั้งๆเป็นภาพเดียวกันแต่เพียงคนละสี และแต่งเติมภาพนิดหน่อยก็ทำให้ภาพนั้นต่างกันได้ ทำให้เห็นว่า แสงมีผลต่อภาพเหมือนกัน




หัวข้อที่เรียนใน PWP ในเรื่อง
หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ทางศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยมีดังนี้
  • ความสำคัญ
  • จุดมุ่งหมายในการสอนศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
  • บทบาทของครูศิลปะ
  • ข้อควรคำนึงในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
  • การเตรียมการสำหรับการสอนศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
  • ลำดับขั้นการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
  • เทคนิควิธีสอนศิลปะเด็กปฐมวัย





 เรื่องที่ 2 อาจารย์แจกใบงาน ทั้งหมด 3 แผ่น
  • แผ่นแรกเป็นการวาดต่อจากครึ่งวงกลมที่มีให้

นี่คือผลงานที่ดิฉันทำจากการวาดภาพต่อเติมและระบายสีอย่างสวยงาม



  • ใบที่สองคือวาดลวดลายที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละช่อง และนี่ก็คือผลงานของดิฉัน

  • ใบที่สามคือวาดโครงร่างอะไรก็ได้ที่ชอบ 1 ชนิด และออกแบบลวดลายตามจินตนาการพร้อมระบายสีซึ่งลวดลายเราดึงมาจากใบงานที่สองนั่นเอง ดังรูปภาพๆนี้ นี่คือผลงานของดิฉัน




การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำไปสอนเด็กในฉบับคุณครูปฐมวัย ภาพบางภาพที่เราวาดไปและตัดขอบเราสามารถนำไปซีร็อกเพื่อเก็บไว้ให้เด็กนำไประบายสีได้หรือจะทำกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องทางศิลปะเช่น ฉีกแปะ เป็นต้น




การประเมิน

ตนเอง    :   ตั้งใจฟังและดูพ้อย คิดตามภาพที่เห็น ทายปริศนาของภาพได้ถูกต้อง รู้ว่าตนเองรักในศิลปะมากจึงตั้งใจทำผลงานในแต่ละชิ้น แต่ละใบงานที่ได้รับ 
เพื่อน      :   คุยกันเยอะไปหน่อย ไม่ค่อยสนใจอาจารย์ แต่เมื่อถึงเวลาทำงาน เพื่อนๆก็ทำด้วยความตั้งใจ
อาจารย์  :   เป็นอาจารย์ท่านหนึ่งที่มีความอดทนสูงมากในการสอน แม้ว่า นศ จะเสียงดังและไม่ฟังแค่ไหน แต่อาจารย์ก็ยังคงสอนไปจนจบจนได้ อาจารย์น่ารักและเปิดโอกาสให้ นศ เสมอ ในเรื่องการคิดและการทำงาน





วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกสัปดาห์ที่ 2

วันจันทร์ ที่ 19 มกราคม 2558



เรื่องที่ 1 วันนี้อาจารย์ได้นำ VDO ด.เด็ก ช.ช้าง มาให้นักศึกษาได้ดู



จากคลิป VDO นี้บ่งบอกถึงลักษณะการเป็นครูที่แย่มากๆ คือครูให้เด็กวาดภาพ โดยจำกัดเวลาและไม่เดินดูผลงานของเด็ก ซึ่งตรวจผลงานเด็กโดยการให้คะแนนเต็ม 10 เด็กแต่ละคนได้คะแนนต่างกันตามความพึงพอใจของครู ตัดสินจากความสวยงาม แต่เมื่อตรวจไปเรื่อยๆถึงผลงานของเด็กชายคนหนึ่ง วาดรูปช้างออกมาได้สวยงามมาก ครูก็ได้เปิดย้อนไปดูผลงานเก่าๆของเด็ก โดยเปิดหลายรอบ เพราะไม่เชื่อว่าเด็กจะวาดสวยได้ขนาดนี้ จึงเรียกเด็กชายคนนั้นออกมาพร้อมกับบีบคั้นถามเด็กว่าใครเป็นคนวาด วาดเองหรือเปล่า ให้พี่วาดให้ใช่ไหม ซึ่งเด็กตอบตามความเป็นจริงว่าผมวาดเองครับ ซึ่งตอนแรกที่ถูกเรียกออกมาเด็กหน้าตายิ้มแย้มแต่เมื่อถูกครูถามและกดดันมากๆ แววตาเด็กเปลี่ยนไป รอยยิ้มหายไป หนำซ้ำครูยังเอาผลงานเด็กไปประจาน และถามเพื่อนๆในห้องเป็นรายบุคคลโดยเดินถามว่าเพื่อนๆเชื่อหรือไม่ว่าเด็กชายคนนี้เป็นคนวาดรูปช้างขึ้นมาเอง ซึ่งเมื่อเดินมาถึงโต๊ะของเด็กชายครูกลับละเลยไม่มองที่โต๊ะ ว่าเด็กชายคนนี้ได้วาดรูปช้างไว้หลายตัว พร้อมบนโต๊ะยังมีรอยขี้ยางลบเต็มไปหมด ซึ่งครูในลักษณะนี้เป็นครูที่นับว่าแย่มากๆ ไม่ควรนำไปเป็นเยี่ยงอย่างในการสอนเด็กเด็ดขาด VDO นี้ให้ความรู้และเป็นประโยชน์มากๆ
     
          เราต้องมีความเชื่อที่ว่าประสบการณ์บางคนมีความชอบกับสิ่งนั้นก็จะวาดออกมาได้สวย เราต้องดูที่พัฒนาการของเด็กและชื่นชมเด็กเมื่อพัฒนาการเขาดีขึ้นเรื่อยๆ การที่อยากให้เด็กนั้นมีความคิดที่สร้างสรรค์ มีความสุขกับการทำศิลปะ จำไว้ว่าขึ้นอยู่ที่ครูนะคะ 


 เรื่องที่ 2 เป็นการเรียนใน PWP ในเรื่องการจัดประสบการ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย


เรื่องที่ 3 ใบงานที่ 2 กิจกรรมวาดภาพระบายสี คำสั่งคือ วาดภาพหัวข้อ มือน้อยสร้างสรรค์ ซึ่งผลงานออกมาเป็นดังนี้ 

นี่มือผลงานของฉัน


 อาจารย์บอกถึงรายละเอียดของแต่ละภาพที่เพื่อนๆได้ทำผลงานศิลปะ


นี่คือผลงานของทั้งห้อง


บันทึกสัปดาห์ที่ 1

วันจันทร์ ที่ 5 มกราคม 2558

วันนี้อาจารย์ได้บอกถึงรายละเอียดในเรื่องต่างๆ



เรื่องที่ 1 สิ่งแรกที่เข้ามาถึงห้องเรียน พูดถึงเรื่องเวลา เราจะย้ายเวลาเรียนจาก 11.30 น. เป็น 12.00 น.



เรื่องที่ 2 การวางรองเท้า การใส่รองเท้าที่มีหลากสี ถ้าให้ดี สีขาว และ สีดำ ดีที่สุด
สีผมควรเป็นสีดำ





เรื่องที่ 3 เแจกใบงาน Pretest รายบุคคล ให้กลับไปทำเป็นการบ้าน




เรื่องที่ 4 การแบ่งกลุ่มทำงาน ซึ่งจะมีใบคำถามมาให้ และให้เพื่อนในกลุ่มช่วยระดมความคิดเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้น ในเรื่องของศิลปะ ซึ่งมีอุุปกรณ์ดังนี้


จากนั้นลงมือทำงานกลุ่ม


และนี่คือผลงานของกลุ่มเราค่ะ เป็นการช่วยเหลือกันและร่วมกันระดมความคิดในการแลกเปลี่ยนความรู้เดิมของแต่ละคน แบ่งหน้าที่การทำงานกัน และนำมาใส่ใน Mind Map  ดังภาพ


จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทุกกลุ่มออกมานำเสนอผลงานของตนเอง



เรื่องที่ 5 แจกใบงานที่ 1 เป็นกิจกรรม วาดภาพระบายสี ซึ่งมีคำสั่ง คือ วาดภาพตามจินตนาการ ซึ่งเป็นการวาดภาพตนเอง โดยใช้ดินสอ ซึ่งภาพของดิฉันมีชื่อว่า " มันใช่ที่สุดแล้ว " ดังภาพที่วาด



ในการทำงานชิ้นนี้ทำให้รู้ได้หลายอย่าง เวลาเราให้เด็กทำศิลปะ 2-4 ขวบ จะนั่งพื้น ส่วน 5-6 ขวบ ควรจะนั่งโต๊ะ การวาดตนเองได้รู้ถึงพัฒนาการและประสบการณ์เดิมของเรา



จากนั้นทุกคนได้ออกมาติดภาพของตนเองบนกระดานซึ่งแต่ละคนก็มีการติดเทปกาวที่กระดาษที่ต่างกัน ซึ่งการติดกระดาษกาวตรงกลางกระดาษไม่เหมาะสม เพราะอาจจะหลุดได้ ควรติดที่มุมให้ครบทั้ง 4 มุม เพื่อเป็นการโชว์ผลงานที่คงทน แต่ก็ต้องคำนึงถึงสถานที่ที่จะติดด้วย สำหรับเด็กแล้วเราจะไม่บังคับให้งานออกมาตรงตามที่ครูวางแผนว่าจะเสร็จตามกำหนด ผู้เป็นครูควรเปิดโอกาสให้เด็กมีอิสระในการทำศิลปะ จาก 29 ภาพ ก็จะมีความแตกต่างกันไป

# การวาดภาพบอกถึงความรู้สึกได้ สื่อถึงตนเองได้ เวลาเด็กทำศิลปะไม่ว่าจะเป็นผลงานแบบไหน จะต้องผ่านครู คือ ครูต้องเป็นผู้กระตุ้น ให้เด็กได้มีโอกาสพูดหรือเล่าถึงผลงานของตนเอง ให้เด็กได้สื่อความหมายของภาพออกมา